ก่อนพุทธศตวรรษที่ 23 เมืองพระประแดงตั้งอยู่บริเวณท่าเรือคลองเตยในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมืองพระประแดงได้เลื่อนลงไปบริเวณปากอ่าวตรงตำแหน่งจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน ส่วนเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองที่ตั้งใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดงสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงมีการเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์มาเป็นเมืองพระประแดง
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 พร้อมกับการขุดคลองปากลัด พ.ศ. 2362 แรกสร้างเรียกกันว่า “วัดปากลัด”หรือ “วัดกรมศักดิ์” ตามชื่อกรมหมื่นศักดิพลเสพ ผู้สร้างวัดนี้ และเมื่อกรมหมื่นศักดิพลเสพได้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ 3 วัดแห่งนี้ จึงถูกเรียกว่า “วัดวังหน้า ต่อมาในรัชกาลที่ 4 จึงทรงพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดไพชยนต์พลเสพย์” ซึ่งคำว่า “ไพชยนต์” น่าจะหมายถึง บุษบกยอดปรางค์ ซึ่งโปรดให้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถ และคำว่า “พลเสพย์” มาจากสร้อยพระนามของกรมพระราชวังบวรฯ ผู้ทรงสร้างวัดและถวายบุษบกนั้นในสมัยรัชกาลที่ 3
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยพระยาเพ็ชรพิไชย (เกตุ) ผู้รับผิดชอบในการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ และเป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง ขณะที่วัดอื่น ๆ ในระแวกนี้เป็นวัดพุทธมอญ ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม เช่น พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับด้วยเครื่องลายคราม ภายในพระวิหารประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีพระพักตร์อันงดงาม เหนือหน้าต่างมีภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกที่แปลกตาหาดูได้ยาก
สร้างในสมัยรัชกาลที่2 พร้อมกับการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ โดยมีพระประสงค์ให้เป็นวัดมอญ สำหรับชาวมอญที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครอบครัวจากจังหวัดปทุมธานี มาอยู่ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์
ในสมัยที่พระประแดงยังมีฐานะเป็นจังหวัด พระอุโบสถของวัดทรงธรรมถูกใช้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ
ป้อมแผลงไฟฟ้า สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2358 บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณเดียวกันนี้มีการสร้างป้อมปราการอีกหลายป้อม ได้แก่ ป้อมมหาสังหาร ป้อมราหูจร ป้อมปีศาจสิง ป้อมวิทยาคม ปัจจุบันเหลือ ป้อมแผลงไฟฟ้า เพียงแห่งเดียว
ปัจจุบันป้อมแผลงไฟฟ้ายังถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และเทศบาลเมืองพระประแดงยังได้ปรับปรุงบริเวณโดยรอบป้อมแผลงไฟฟ้าให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน
สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2430 โดยพระยาดำรงราชพลขันธ์เจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ คนที่ 2 ซึ่งได้อุทิศถวายจวนเจ้าเมืองของท่านเพื่อใช้ในการสร้างวัด ชาวบ้านจึงนิยมเรียกวัดนี้ว่า “วัดจวน”